เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร

    เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) สวิตซ์ไฟฟ้าอัตโนมัติที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าส่วนเกิน ซึ่งการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คือตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า สำหรับเซอร์กิตเบรกเกอร์เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แตกต่างกันตรงที่เมื่อตัดวงจรแล้วสามารถที่จะปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาแล้ว

 

 

ประเภทของเบรกเกอร์

 

 

    เบรกเกอร์สามารถแบ่งประเภทตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า ซึ่งหากแบ่งตามพิกัดแรงดันไฟฟ้าจะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ Low Voltage Medium Voltage, High Voltage

 

 

1. Low Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ เบรกเกอร์ที่นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย คือ  ได้แก่ MCB, MCCB และ ACB สำหรับเบรกเกอร์เหล่านี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับการใช้งาน

 

 

    - MCB (Miniature Circuit Breakers) หรือที่เรียกกันว่า เบรกเกอร์ลูกย่อยหรือลูกเซอร์กิต มีขนาดเล็ก สำหรับใช้ในบ้านหรืออาคารที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100 A มีทั้งขนาด 1, 2, 3 และ 4 Pole ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส สำหรับการใช้งานจะใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับแผงจ่ายไฟฟ้าย่อย (Load center) หรือแผงจ่ายไฟฟ้าในห้องพักอาศัย (Consumer unit)

 

 

    - RCDs (Residual Current Devices) เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่ช่วยตัดกระแสไฟ หรือป้องกันกระแสไฟรั่ว ไฟดูด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ RCBO (ป้องกันไฟดูดช๊อต), RCCB (ตัดไฟเมื่อเกิดการรั่วไหลของกระแส), ELCB (ป้องกันไฟดูด มักใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีปุ่มเทส) ซึ่งจะติดตั้งใน ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท (Consumer unit) และตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า

 

 

    - MCCB (Moulded Case Circuit Breakers) เบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือไฟฟ้าลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100 – 2,300 A เหมาะกับติดตั้งในอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรม เบรกเกอร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติที่สามารถทนกระแสลัดวงจรหรือค่า kA ได้สูงกว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย (MCB) แต่น้อยกว่าเบรกเกอร์ประเภท ACB

 

 

    - ACB (Air Circuit Breakers) แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ มีความแข็งแรง สามารถทนทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 6,300A ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในวงจรไฟฟ้าในโรงงาน

 

 

2. Medium Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง ถูกประกอบเข้าไปในตู้เหล็กสวิตซ์ขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในอาคารหรือใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น ACB, Oil-filled Circuit Breaker และ Vacuum Circuit Breakers

 

 

3. High Voltage Circuit Breakers เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง จะติดตั้งในการส่งกำลังไฟฟ้าที่ต้องมีการป้องกันและควบคุมโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง งานส่งกำลังจะมีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV หรือสูงกว่า ตัวอย่างเช่น Solenoid Circuit Breaker เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟสูงจะทำงานด้วยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าอีกที ในส่วนของชุดรีเลย์ป้องกันที่ซับซ้อนนั้น ช่วยป้องกันอุปกรณ์จากโหลดเกินหรือไฟรั่วลงดินได้

 

 

 

 

 

 -------------------------------------------------------------

 

 

บริษัท บางกอกแอบโซลูท อิเลคทริคแอนด์คอน จํากัด

จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าและการบริการในระดับอุตสาหกรรม ตอบรับท้ังงานโปรเจค งาน รับเหมาก่อสร้าง กลุ่มร้านค้าปลีก ฯลฯ นอกจากนี้ บางกอกแอบโซลูท อิเลคทริคแอนด์คอน ยังเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า แบรนด์ ABB และสายไฟ BCC

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Line : จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า @bangkokabsolute

https://web.facebook.com/bangkokab

ระบบไฮดรอลิคและระบบนิวเมติกส์มีความแตกต่างกันอย่างไร

       สำหรับระบบไฮดรอลิค กับ ระบบนิวเมติกส์ นั้นถือว่าเป็นระบบที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนวงการอุตสาหกรรมเกือบแทบจะทุกประเภท เนื่องจากกระบวนการผลิตสินค้าจะเป็นจะต้องมีการเคลื่อนไหวและใช้แรงงานการจับ ขึ้นรูปหรือบีบอัดสินค้าเป็นประจำ ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานของทั้งสองระบบนั้นจะใช้เทคโนโลยีของไหลแบบเดียวกันเพื่อสร้างกำลังหรือแรง แต่ตัวกลางที่ใช้แปลงพลังงานกลจะแตกต่างกัน โดยระบบไฮดรอลิคจะใช้ของเหลวที่มีแรงดัน เช่น น้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ และน้ำ ส่วนระบบนิวเมติกส์ จะใช้ก๊าซหรืออากาศอัดเป็นตัวกลางในการแปรพลังงาน ดังนั้นถ้าจะอธิบายให้เข้าใจโดยง่าย คือ ระบบนิวเมติกส์ใช้อากาศเป็นตัวกลาง ส่วนระบบไฮดรอลิกใช้ของเหลวเป็นตัวกลาง ซึ่งตัวกลางที่แปลงพลังงานของไหลเป็นพลังงานกลทำให้สองระบบนี้แตกต่างกันนั้นเอง

 

ศูนย์รวมอุปกรณ์ไฮดรอลิค

 

 

ระบบไฮดรอลิคและระบบนิวเมติกส์มีความแตกต่างกัน ดังนี้


1. ระบบไฮดรอลิคเป็นระบบปิด ส่วนระบบนิวเมติกส์เป็นระบบเปิด
2. ระบบไฮดรอลิคจะใช้แรงดันประมาณ 500 ถึง 5000psi ส่วนระบบนิวเมติกส์จะใช้แรงดันประมาณ 100 ถึง100psi
3. ระบบไฮดรอลิคสามารถหล่อลื่นตัวเองได้ เพราะว่าใช้น้ำมันหลายชนิดในการทำขับเคลื่อน ส่วนระบบนิวเมติกส์จะต้องไท่สามารถหล่อลื่นตัวเองได้ ต้องมีการจัดเตรียมแยกไว้ต่างหาก
4. ปั๊ม วาล์ว ข้อต่อ สายไฮดรอลิค อุปกรณ์ไฮดรอลิคที่ใช้ในระบบไฮดรอลิค สำหรับการจัดเก็บและสูบของเหลวทำให้ระบบมีขนาดใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น ส่วนประกอบที่มีขนาดใหญ่จึงต้องการแรงดันที่มากขึ้น และทำให้ระบบไฮดรอลิคมีราคาสูงขึ้น การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมระบบไฮดรอลิคนั้นซับซ้อนกว่าระบบนิวเมติกส์ ระบบนิวเมติกส์นั้นเรียบง่าย ราคาถูก และประหยัดกว่าค่ะ
5. มอเตอร์ระบบไฮดรอลิคสามารถสตาร์ทมอเตอร์ภายใต้แรงดันสูงได้ นอกจากนี้ ระบบไฮดรอลิคสามารถทำงานช้า แม่นยำ และให้การเคลื่อนที่เชิงเส้น สำหรับระบบนิวเมติกส์ การทำงานที่ช้าเกินไปจะทำให้เกิดการกระตุก
6. ถ้าเกิดการรั่วของระบบไฮดรอลิคจะทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเลอะเทอะ นอกจากนี้การรั่วไหลของของเหลวที่มีแรงดันยังเป็นอันตรายต่อทั้งคนงานและเครื่องจักร ฉะนั้นในระบบไฮดรอลิค การรั่วจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบช้าลง แต่ระบบนิวเมติกส์จะได้รับผลกระทบจากการรั่วซึม
7. น้ำมันไฮดรอลิกบางชนิดเป็นน้ำมันปิโตรเลียม ฉะนั้นในระบบไฮดรอลิก มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟไหม้ แต่ระบบนิวคเมติกส์ไม่มีอันตรายจากไฟไหม้
8. การทำงานของวาล์วของระบบนิวเมติกส์นั้นง่ายกว่าระบบไฮดรอลิค
9. เครื่องอัดอากาศเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของระบบนิวเมติกส์

 

ผลิตและจำหน่ายสายไฮดรอลิค


       อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันนี้ระบบไฮดรอลิคและระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างมากกับอุตสาหกรรมต่างๆ ดังนั้นหากทุกท่านมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบไฮดรอลิคก็จะทำให้สามารถเข้าใจการทำงานของระบบไฮดรอลิคได้ และใช้งานจากระบบไฮดรอลิคได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สายใสอุตสาหกรรม ซึ่ง บริษัท เค แอนด์ พี ไฮดรอลิค จำกัด ผู้นำด้านอุปกรณ์ไฮดรอลิคอย่างครบวงจร ที่ได้รับการยอมรับมากกว่า 20 ปี ให้บริการจำหน่ายอุปกรณ์ไฮดรอลิค สายไฮดรอลิค  สายอุตสาหกรรม สายท่ออ่อนสแตนเลส สายถักสแตนเลส ข้อต่อลม ข้อต่อสายไฮดรอลิค หัวสายไฮดรอลิค สายใสอุตสาหกรรม ท่ออ่อนสแตนเลส ข้อต่อ สายเพาเวอร์ กระบอกลม และอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมาย พร้อมรับประกันคุณภาพทุกชิ้นงาน ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ไฮดรอลิคโดยเฉพาะ
---------------------------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
• ระบบไฮดรอลิคสำคัญอย่างไร 
• สายไฮดรอลิค อุปกรณ์ขับเคลื่อนของเหลวในระบบไฮดรอลิค  
• มาทำความรู้จักกับประเภทของข้อต่อสวมเร็ว  

ความปลอดภัยของการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญ

ติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานมีความสำคัญอย่างไร


        à¸£à¸°à¸šà¸šà¹„ฟฟ้า มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากไฟฟ้าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เหมือนกับน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์เช่นกัน ซึ่งไฟฟ้าถือเป็นแหล่งกำเนิดที่หล่อเลี้ยงให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ สามารถทำงาน โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆเหล่านี้จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ในด้านต่างๆ  à¹€à¸Šà¹ˆà¸™ โรงงาน ห้างสรรพสินค้า ออฟฟิศ หมู่บ้าน คอนโด ไฟตามท้องถนน ซึ่งในภาคของโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าในปริมาณมาก เพราะกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมจะต้องการใช้กระแสไฟในการผลิต

        ดังนั้นการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานจึงจำเป็นต้องมีการออกแบบอย่างถูกต้องตามหลักวิศวกร และต้องเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีคุณภาพได้มาตราฐานเหมาะสมกับโรงงาน เพื่อให้การทำงานของระบบไฟฟ้าโรงงานทำงานได้มีประสิทธิภาพอย่างราบรื่น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงช่วยรลดค่าใช้จ่ายและประหยัดพลังงานได้ 

 

บริการติดตั้งระบบไฟฟ้า   à¸šà¸£à¸´à¸à¸²à¸£à¸•à¸´à¸”ตั้งระบบไฟฟ้า

 

 

ปัจจัยสำคัญสำหรับติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงาน ได้แก่


1.ขนาดของโรงงาน 
เป็นปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงเพราะโรงงานมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทำให้ต้องคำนวณระดับแรงดันไฟที่ต้องใช้ให้เหมาะสม เนื่องจากเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้าในโรงงานส่งผลต่ออัตราค่าไฟฟ้า จึงจำเป็นที่จะต้องต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อควบคุมการใช้ไฟภายในโรงงาน
2. ลักษณะหรือกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม 
เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเพราะต้องออกแบบระบบให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรม เนื่องจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมมีทั้งผลิตต่อเนื่องและผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้นการออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานต้องเลือกให้เหมาะสม เพื่อป้องกันเรื่องแรงดันไฟฟ้าที่จะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าของโรงงาน
3. ประเภทของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในโรงงาน
โดยการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า ต้องออกแบบให้เหมาะสม เพียงพอกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะต้องใช้ในโรงงาน เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า ระบบไฟแสงสว่างในโรงงาน เป็นต้น
4. ค่าการลงทุนและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 
การลงทุนในระบบไฟฟ้าของแต่ละโรงงาน ต้องใช้เงินในการลงทุนซึ่งต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าลงทุนไปแล้วผลตอบแทนหรือกำไรที่จะได้รับจากการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานนั้นคุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ ซึ่งปกติแล้วการลงทุนติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานเป็นที่คุ้มค่าแก่การลุงทุนเพราะไฟฟ้าเป็นกำลังผลิตที่หล่อเลี้ยงให้ระบบทุกอย่างในโรงงานสามารถทำงานได้ แต่ถ้ากล่าวถึงเรื่องความเสี่ยงก็มีเช่นกัน เพราะถ้าหากระบบไฟฟ้าของโรงงานเกิดขัดข้องจะส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าได้ หรือร้ายแรงไปกว่านั้นไฟฟ้าลัดวงจรอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ 

 

  à¸£à¸±à¸šà¸•à¸´à¸”ตั้งโซล่าเซลล์


        à¸«à¸²à¸à¸ªà¸™à¹ƒà¸ˆà¸•à¸´à¸”ตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบวางระบบติดตั้ง โดยทีมวิศวกร หรือช่างเทคนิค ติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงาน อย่างบริษัท สยาม-ซันนี่ โวลท์ รับติตั้งระบบไฟฟ้า บริการติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม (Solar farm) ติดตั้งตู้คอนโทรล บริการออกแบบตู้คอนโทรล ในโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอาคารต่าง ๆ และมีบริการดูแลหลังการติดตั้งเป็นอย่างดีติดต่อสอบถามได้ เรายินดีให้ปรึกษาเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานและสถานประกอบการ สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คลิก

------------------------------------------------------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) ตัวช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์
บริการติดตั้งตู้สวิชบอร์ด
บริการติดตั้งระบบพรีซิชั่นแอร์ 

 

____________________________________________________

 

สนใจชมข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Marketplace

 

www.brandexdirectory.com
เว็บไซต์รวมสินค้าอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย

 

www.pagesthai.com
เว็บไซต์รวมรายชื่อโรงงานผลิต ซับคอนแทรค และบริการ

 

www.Brand.co.th
เว็บรวมสินค้าแบรนด์และผู้ผลิตสินค้าแบรนด์

 

www.eeczone.com
เว็บรวมรายชื่อผู้ประกอบการภาคตะวันออก


 

 

 

 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15